ประวัติ ของ พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง)

พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง ณ ระนอง) เป็นคนจีนต้นสกุล ณ ระนอง คนแรกที่เข้ามาในประเทศนั้นชื่อเดิมชื่อ ซู้เจียง แซ่คอ และได้เรียกกันว่า คอซู้เจียง คอซู้เจียงเป็นชาวจีนฮกเกี้ยนอพยพเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปลายรัชกาลที่ 3 ขณะมีอายุได้ 25 ปี โดยเป็นกรรมกรที่เกาะหมาก[1] (ปีนัง) ต่อมาจึงเป็นพ่อค้าที่เมืองตะกั่วป่าและเมืองพังงา รับสินค้าจากเรือกำปั่นค้าขายระหว่างเมืองชายทะเลตะวันตกแพวเกาะหมาก พังงา ระนอง และตระ (กระบุรี) ได้สมรสกับคนไทยเชื้อสายจีนชาวพังงา ชื่อนางกิมและมีบุตรทั้งหมด 11 คน เป็นหญิง 5 คน และเป็นชาย 6 คน ดังนี้

1. หลวงศรีโลหะภูมิพิทักษ์ (คอซิมเจ่ง ณ ระนอง 許心正) บุตรชายคนแรกได้รับพระราชทานนามสัญญาบัตรในรัชกาลที่ 4 ตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองระนอง

2. พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง ณ ระนอง 許心廣) ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรในรัชกาลที่ 4 เป็นหลวงศรีโลหะภูมิพิทักษ์แล้วจึงเลื่อนเป็นพระยารัตนเศรษฐี รับราชการผู้ว่าราชการเมืองระนองแทนบิดา

3. หลวงศรีสมบัติ (คอซิมจั๊ว ณ ระนอง 許心泉) ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ในรัชกาลที่ 5 เป็นผู้ช่วยราชการเมืองระนอง

4. พระศรีโลห ภูมิพิทักษ์ (คอซิมขิม ณ ระนอง 許心欽) ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรในรัชกาลที่ 5 เป็นหลวงแล้วเลื่อนเป็นพระ รับราชการตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองระนอง

5. พระยาจรูญราชโภคากร (คอซิมเต๊ก ณ ระนอง 許心德) ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรในรัชกาลที่ 5 เป็นพระแล้วเลื่อนเป็นพระยา รับราชการตำแหน่งจางวางกำกับราชการเมืองหลังสวน

6. พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) (許心美) ได้เป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ 5 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นที่หลวงบริรักษ์โลหวิสัย ตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองระนองแล้วเลื่อนเป็นที่พระอัษฎงคตทิศรักษา ผู้ว่าราชการเมืองจัตวาคือกระบุรีต่อมาได้เลื่อนเป็นพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ผู้ว่าราชการเมืองตรัง แล้วเลื่อนขึ้นเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง) http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp... http://www.mediathai.net/module/travel/travel_arti... http://www.amed.go.th/AboutUs/palace/sur_order.htm http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/E/... https://web.archive.org/web/20081224222835/http://... https://web.archive.org/web/20110105063640/http://... https://web.archive.org/web/20160304195701/http://... https://web.archive.org/web/20221022062323/https:/... https://web.archive.org/web/20221022063232/https:/...